พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระสมเด็จอรหัง ...
พระสมเด็จอรหัง พระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน)
พระสมเด็จอรหัง
พระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน)
พุทธคุณเด่น-ไม่แพ้วัดระฆังฯ
พระสมเด็จที่มีความนิยมเข้าข่ายหายใจรดต้นคอพระสมเด็จของสายสมเด็จโต เซียนพระยกให้เป็น “สุดยอด”พระสมเด็จพิมพ์หนึ่ง
“พระสมเด็จอรหัง” สมเด็จพระสังฆราช สุก ญาณสังวร (ไก่เถื่อน) เป็นผู้สร้างไว้ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ ตามประวัติท่านประสูติกาลเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1095 (พ.ศ. 2276) ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศ เดิมอยู่ที่วัดท่าหอย ริมคูจาม แขวงพระนครศรีอยุธยา
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดอาราธนามาครองวัดพลับแล้วทรงสถาปนาให้เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณสังวร ด้วยมีพระราชดำริว่า เป็นพระคณาจารย์ผู้ช่ำชองพระกัมมัฏฐาน เป็นที่เคารพสักการะแห่งชนทั้งหลาย ทรงไว้ซึ่งพรหมวิหารธรรม
เล่าลือกันว่า สมเด็จพระสังฆราชสุก ท่านมีเมตตาแก่กล้า ถึงกับสามารถเลี้ยง “ไก่เถื่อน” ให้ เชื่องได้เสมอด้วยไก่บ้าน ทำนองเดียวกับสรรเสริญกถาเรื่องพระสุวรรณสามโพธิสัตว์ ในชาดก
ฉะนั้น คนทั้งหลายจึงพากันถวายพระเกียรตินามว่า “สังฆราชสุกไก่เถื่อน”
“พระสมเด็จอรหัง” ถือเป็นต้นแบบพระเครื่องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบ “ชิ้นฝัก”
ในหนังสือ “ภาพพระเครื่อง” จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องวัตถุมงคล “อ.ประชุม กาญจนวัฒน์” ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพระสมเด็จอรหังว่า “เป็นพระต้นสกุลพระพิมพ์สมเด็จที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทั้งหมด ประมาณว่าได้มีการสร้างไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2360 (ที่วัดพลับ) แล้วนำมาบรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุ เมื่อพ.ศ.2363 และนอกจากจะพบพระสมเด็จอรหังที่วัดมหาธาตุแล้ว ที่วัดสร้อยทองก็ยังมีผู้พบด้วยเช่นกัน”
พระสมเด็จอรหัง พบมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์และหลายเนื้อ กล่าวคือ มีพระพิมพ์ฐานสามชั้น (พิมพ์สังฆาฏิ) พระพิมพ์สามชั้นเกศอุ พระพิมพ์ฐานคู่ พระพิมพ์เล็กฐานสามชั้นมีประภามณฑล และพระพิมพ์เล็กฐานสามชั้นไม่มีประภามณฑล
ส่วนเนื้อเป็นเนื้อปูนเปลือกหอย แบบออกขาวละเอียด เนื้อขาวหยาบมีเม็ดทราย เนื้อขาวหยาบออกอมสีเขียวก้านมะลิ และยังมีประเภทเนื้อออกสีแดงเรื่อๆ พระสีนี้มักจะมีเนื้อหยาบ สันนิษฐานว่าอาจจะมีการผสมปูนกินหมากหรือพิมเสนเข้าไป เมื่อผสมกับปูนเปลือกหอยทำให้เนื้อมวลสารกลายเป็นสีแดง
พระส่วนใหญ่มักจะมีจารคำว่า “อรหัง” เป็นอักษรขอมไว้ที่ด้านหลัง แต่ที่ไม่เขียนเลยก็มีบ้างเป็นส่วนน้อย และมีส่วนหนึ่งที่ด้านหลังเป็นตราประทับคำว่า “อรหัง” กดที่ด้านหลังแทนการเขียน เนื้อสีแดงคล้ายปูนแห้ง ส่วนใหญ่พบที่วัดสร้อยทอง นักนิยมพระเครื่องมักเรียกหลังแบบนี้ว่า “หลังโต๊ะกัง”
เนื่องจากพระสมเด็จอรหังเป็นพระยอดนิยมที่มีหลายพิมพ์ ครั้งนี้ลงลึกกันที่ “พิมพ์โต๊ะกัง” และ “พิมพ์เล็ก” กล่าวสำหรับ “พิมพ์โต๊ะกัง” ด้านหน้าพระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิราบ บรฐาน 3 ชั้น และฐาน 2 ชั้น มีซุ้มโดยรอบ ด้านหลังมียันต์ปั๊มจมลงไปในเนื้อเป็นอักขระขอม “อะระหัง” เนื้อผงสีปูนแดงแห้ง
ส่วน“พิมพ์เล็ก” แบ่งเป็น พิมพ์ที่มีประภามณฑล และไม่มีประภามณฑล เท่าที่พบทั้ง 2 พิมพ์จะเป็นพระเนื้อผงสีขาว และที่ด้านหลังส่วนมากจะมีจารคำว่า “อรหัง” เกือบทุกองค์ ทั้งสองพิมพ์จะมีขนาดประมาณ กว้าง 1 ซ.ม. สูง 1.5 ซ.ม.
“พิมพ์ที่มีประภามณฑล” จะมีเส้นประภามณฑลรอบพระเศียร เป็นเส้นบางๆ พระเกศเรียวเล็ก พระพักตร์ตื้น ปรากฏเส้นเอ็นคอเล็กเรียว ลำพระองค์หนาลึก หน้าตักเป็นแอ่งเว้า มีฐานสามชั้น
“พิมพ์ไม่มี ประภามณฑล” ที่รอบพระเศียรจะไม่มีประภามณฑล พระเกศเรียวเล็ก พระพักตร์ตื้น มีเส้นเอ็นคอเรียวเล็ก ลำพระองค์หนา แขนทั้งสองข้างเรียวเล็กกว่าพิมพ์มีประภามณฑล หน้าตักแคบกว่าพิมพ์มีประภามณฑลและไม่ค่อยเป็นแอ่งเว้า ฐานสามชั้นแคบเกือบเท่ากับหน้าตัก ผิดกับพิมพ์มีประภามณฑล
พุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม คงกระพันและแคล้วคลาด
ผู้เข้าชม
6953 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
ขายแล้ว
ชื่อร้าน
สิริมงคล พระเครื่อง
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
Sukanda2525
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารออมสิน / 0202-2950-3824

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
eobeobหนึ่งโนนสูงZomlazzalima_a_auแมวดำ99ep8600
เพ็ญจันทร์doonjan_47lordchathanumaanTotoTatoทองธนบุรี
okprachaithawatโกหมูเจริญสุขKanamuletakenongear48
สายน้ำอุ่นเปียโนบ้านพระหลักร้อยบ้านพระสมเด็จhoppermanfuchoo18
จ่าดี พระกรุหนึ่ง ทุ่งสงพระเครื่องโคกมนอ้วนโนนสูงErawanไชยพงศ์

ผู้เข้าชมขณะนี้ 512 คน

เพิ่มข้อมูล

พระสมเด็จอรหัง พระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน)




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระสมเด็จอรหัง พระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน)
รายละเอียด
พระสมเด็จอรหัง
พระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน)
พุทธคุณเด่น-ไม่แพ้วัดระฆังฯ
พระสมเด็จที่มีความนิยมเข้าข่ายหายใจรดต้นคอพระสมเด็จของสายสมเด็จโต เซียนพระยกให้เป็น “สุดยอด”พระสมเด็จพิมพ์หนึ่ง
“พระสมเด็จอรหัง” สมเด็จพระสังฆราช สุก ญาณสังวร (ไก่เถื่อน) เป็นผู้สร้างไว้ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ ตามประวัติท่านประสูติกาลเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1095 (พ.ศ. 2276) ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศ เดิมอยู่ที่วัดท่าหอย ริมคูจาม แขวงพระนครศรีอยุธยา
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดอาราธนามาครองวัดพลับแล้วทรงสถาปนาให้เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณสังวร ด้วยมีพระราชดำริว่า เป็นพระคณาจารย์ผู้ช่ำชองพระกัมมัฏฐาน เป็นที่เคารพสักการะแห่งชนทั้งหลาย ทรงไว้ซึ่งพรหมวิหารธรรม
เล่าลือกันว่า สมเด็จพระสังฆราชสุก ท่านมีเมตตาแก่กล้า ถึงกับสามารถเลี้ยง “ไก่เถื่อน” ให้ เชื่องได้เสมอด้วยไก่บ้าน ทำนองเดียวกับสรรเสริญกถาเรื่องพระสุวรรณสามโพธิสัตว์ ในชาดก
ฉะนั้น คนทั้งหลายจึงพากันถวายพระเกียรตินามว่า “สังฆราชสุกไก่เถื่อน”
“พระสมเด็จอรหัง” ถือเป็นต้นแบบพระเครื่องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบ “ชิ้นฝัก”
ในหนังสือ “ภาพพระเครื่อง” จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องวัตถุมงคล “อ.ประชุม กาญจนวัฒน์” ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพระสมเด็จอรหังว่า “เป็นพระต้นสกุลพระพิมพ์สมเด็จที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทั้งหมด ประมาณว่าได้มีการสร้างไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2360 (ที่วัดพลับ) แล้วนำมาบรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุ เมื่อพ.ศ.2363 และนอกจากจะพบพระสมเด็จอรหังที่วัดมหาธาตุแล้ว ที่วัดสร้อยทองก็ยังมีผู้พบด้วยเช่นกัน”
พระสมเด็จอรหัง พบมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์และหลายเนื้อ กล่าวคือ มีพระพิมพ์ฐานสามชั้น (พิมพ์สังฆาฏิ) พระพิมพ์สามชั้นเกศอุ พระพิมพ์ฐานคู่ พระพิมพ์เล็กฐานสามชั้นมีประภามณฑล และพระพิมพ์เล็กฐานสามชั้นไม่มีประภามณฑล
ส่วนเนื้อเป็นเนื้อปูนเปลือกหอย แบบออกขาวละเอียด เนื้อขาวหยาบมีเม็ดทราย เนื้อขาวหยาบออกอมสีเขียวก้านมะลิ และยังมีประเภทเนื้อออกสีแดงเรื่อๆ พระสีนี้มักจะมีเนื้อหยาบ สันนิษฐานว่าอาจจะมีการผสมปูนกินหมากหรือพิมเสนเข้าไป เมื่อผสมกับปูนเปลือกหอยทำให้เนื้อมวลสารกลายเป็นสีแดง
พระส่วนใหญ่มักจะมีจารคำว่า “อรหัง” เป็นอักษรขอมไว้ที่ด้านหลัง แต่ที่ไม่เขียนเลยก็มีบ้างเป็นส่วนน้อย และมีส่วนหนึ่งที่ด้านหลังเป็นตราประทับคำว่า “อรหัง” กดที่ด้านหลังแทนการเขียน เนื้อสีแดงคล้ายปูนแห้ง ส่วนใหญ่พบที่วัดสร้อยทอง นักนิยมพระเครื่องมักเรียกหลังแบบนี้ว่า “หลังโต๊ะกัง”
เนื่องจากพระสมเด็จอรหังเป็นพระยอดนิยมที่มีหลายพิมพ์ ครั้งนี้ลงลึกกันที่ “พิมพ์โต๊ะกัง” และ “พิมพ์เล็ก” กล่าวสำหรับ “พิมพ์โต๊ะกัง” ด้านหน้าพระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิราบ บรฐาน 3 ชั้น และฐาน 2 ชั้น มีซุ้มโดยรอบ ด้านหลังมียันต์ปั๊มจมลงไปในเนื้อเป็นอักขระขอม “อะระหัง” เนื้อผงสีปูนแดงแห้ง
ส่วน“พิมพ์เล็ก” แบ่งเป็น พิมพ์ที่มีประภามณฑล และไม่มีประภามณฑล เท่าที่พบทั้ง 2 พิมพ์จะเป็นพระเนื้อผงสีขาว และที่ด้านหลังส่วนมากจะมีจารคำว่า “อรหัง” เกือบทุกองค์ ทั้งสองพิมพ์จะมีขนาดประมาณ กว้าง 1 ซ.ม. สูง 1.5 ซ.ม.
“พิมพ์ที่มีประภามณฑล” จะมีเส้นประภามณฑลรอบพระเศียร เป็นเส้นบางๆ พระเกศเรียวเล็ก พระพักตร์ตื้น ปรากฏเส้นเอ็นคอเล็กเรียว ลำพระองค์หนาลึก หน้าตักเป็นแอ่งเว้า มีฐานสามชั้น
“พิมพ์ไม่มี ประภามณฑล” ที่รอบพระเศียรจะไม่มีประภามณฑล พระเกศเรียวเล็ก พระพักตร์ตื้น มีเส้นเอ็นคอเรียวเล็ก ลำพระองค์หนา แขนทั้งสองข้างเรียวเล็กกว่าพิมพ์มีประภามณฑล หน้าตักแคบกว่าพิมพ์มีประภามณฑลและไม่ค่อยเป็นแอ่งเว้า ฐานสามชั้นแคบเกือบเท่ากับหน้าตัก ผิดกับพิมพ์มีประภามณฑล
พุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม คงกระพันและแคล้วคลาด
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
6954 ครั้ง
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
สิริมงคล พระเครื่อง
URL
เบอร์โทรศัพท์
0936160839
ID LINE
Sukanda2525
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
2. ธนาคารออมสิน / 0202-2950-3824




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี